ปัญหาเรื่องพื้นกระเบื้องโก่ง-ร่อน-ระเบิด

2121 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ปัญหาเรื่องพื้นกระเบื้องโก่ง-ร่อน-ระเบิด

หลายคนคงพบกับปัญหากระเบื้องร่อน กระเบื้องโก่งตัว หรือกระเบื้องระเบิด และคงสงสัยว่า จู่ๆ กระเบื้องที่ปูใช้งานมานานนั้น อยู่ดีๆ ทำไมถึงเป็นแบบนี้ได้ ซึ่งสาเหตุนั้นเป็นไปได้หลายอย่าง Superstep guru สรุปที่มาของสาเหตุความเสียหายออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่

ปัญหาที่มาจากความเสื่อมสภาพที่ผิดปกติของโครงสร้าง
ปัญหาที่มาจากการปูที่ไม่ได้มาตรฐาน และการเคลื่อนตัวตามปกติของโครงสร้าง


ปัญหาประเภทแรกนั้น สิ่งแรกที่ควรทำคือให้ผู้เชี่ยวชาญการตรวจสอบสภาพโครงสร้าง เพื่อแก้ปัญหาหลัก การซ่อมกระเบื้องในบริเวณดังกล่าวจะไม่ได้ช่วยอะไร แถมการปูกระเบื้องใหม่ทับ จะกลายการปกปิดรอยแตกร้าวของโครงสร้างอีกด้วย รู้ตัวอีกครั้งก็สายเกินจะแก้ไขด้วยวิธีซ่อมแซมเบื้องต้นได้ ซึ่งการตรวจสอบความเสื่อมสภาพที่ผิดปกติของโครงสร้างเบื้องต้นด้วยตัวเองนั้น เราจะนำเสนอกันอีกครั้ง ดังนั้น เรามาดูปัญหาประเภทที่สองนั้นเกิดจากการปู หรือการเคลื่อนตัวตามปกติของโครงสร้างว่ามีอะไรบ้าง และสามารถแก้ไขเบื้องต้นได้อย่างไร

อ่านบทความเกี่ยวกับการเลือกพื้นไม้เพิ่มเติมได้ที่ เหตุใดควรเลือกใช้ “พื้นไม้ลามิเนต” ทำให้บ้านคุณดูดีขึ้น
อ่านวิธีเช็คงานกระเบื้องเพิ่มเติมได้ที่ 6 วิธีเช็คงานปูกระเบื้อง ไร้เรื่องปวดหัวตามมา
กระเบื้องร่อน


กรณีที่กระเบื้องหลุดร่อนออกมา ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องที่ผนังหรือพื้น โดยไม่มีการโก่งตัวนั้น มักเกิดจากการปูที่ไม่ได้มาตรฐานในสองลักษณะ คือ ใช้ปูนทรายที่มีส่วนผสมไม่เหมาะสม ปูนทรายจึงยึดเกาะกระเบื้องได้ไม่ดี ถ้าเป็นไปได้ ควรใช้ปูกาวสำหรับปูกระเบื้องที่มีแรงยึดเกาะที่ดีกว่า และการปูแบบซาลาเปา หรือการใช้ปูนทรายหรือปูนกาวน้อยหยอดเป็นก้อนที่หลังแผ่นกระเบื้อง แล้วนำกระเบื้องไปวางและกดที่พื้นหรือผนัง เนื้อปูนจึงไม่กระจายตัวให้สม่ำเสมอทั่วทั้งแผ่น เมื่อเวลาผ่านไปจะหลุดร่อนออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระเบื้องที่พื้นซึ่งถูกการกดทับเมื่อเราเดินเหยียบหรือวางทับด้วยเฟอร์นิเจอร์


การแก้ไข
เบื้องต้น เราสามารถตรวจสอบง่ายๆ โดยการเคาะแผ่นกระเบื้อง มีเสียงดังแบบกลวงๆ ที่บ่งบอกว่ามีช่องว่างด้านใน หากกรณีเพิ่งปูเสร็จ รีบแจ้งให้ช่างแก้ไข ยังสามารถเลาะกระเบื้องก่อนปูนแข็งตัวถาวร และปูใหม่ได้ หากปูนานแล้ว ถ้าไม่รีบก็ใช้งานไปก่อน หรือถ้าไม่สบายใจอยากซ่อมแซม ให้ลองตรวจเช็ค เผื่อว่ามีบริเวณอื่นๆ ด้วย แล้วเรียกช่างมาซ่อมแซมโดยการค่อยๆ เคาะกระเบื้องแผ่นดังกล่าวให้แตก ค่อยๆ สลักปูนเดิมออก แล้วจึงทาปูนกาวใหม่ให้เต็มพื้นที่ก่อนติดตั้งกระเบื้องแผ่นใหม่เข้าไป

อ่านวิธีแก้ปัญหาส่วนต่อเติมบ้านทรุดเพิ่มเติมได้ที่ รับมือได้ ไม่ต้องเครียด! แก้ปัญหาส่วนต่อเติมบ้านทรุดอย่างมืออาชีพ
อ่านวิธีแก้ปัญหาเรื่องรอยร้าวและสีลอกเพิ่มเติมได้ที่ แก้ปัญหารอยร้าวเล็ก ๆ สีลอกล่อนบนผนัง ด้วยตัวเอง
กระเบื้องโก่งตัว และกระเบื้องระเบิด


สำหรับกรณีที่ไม่ได้มาจากการเสื่อมสภาพที่ผิดปกติของโครงสร้าง ปัญหาแบบนี้อาจมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้

การหดขยายตัวของกระเบื้อง ซึ่งเกิดจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง ร้อนหรือเย็นจัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้กระเบื้องที่ไม่ได้มาตรฐาน จะเกิดความเสียหายได้ง่ายและรวดเร็วกว่ากระเบื้องที่ได้มาตรฐาน

สืบเนื่องมาจากการหดขยายตัวของแผ่นกระเบื้อง หากปูกระเบื้องชิดเกินไป หรือปูชนแผ่นโดยไม่มีการยาแนว เมื่อกระเบื้องขยายตัว จะดันกันจนโก่งตัวหรือระเบิดแตกได้นั่นเอง


โครงสร้างทุกชนิดจะมีการเคลื่อนตัวการสั่นสะเทือนจากการสัญจรของรถ หรือการหดขยายตัวที่เป็นปกติจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ การเคลื่อนตัวนี้ส่งผลให้กระเบื้องที่ชิดเกินไป หรือปูชนแผ่นโดยไม่มีการยาแนวเกิดการดันกัน ทำให้กระเบื้องโก่งตัวหรือกระเบื้องระเบิดได้เช่นกัน


การแก้ไข
ปัญหาแนวนี้ต้องทำการเลาะกระเบื้องออกทั้งหมด รวมถึงสกัดปูนทรายหรือปูนกาวเดิมออกเพื่อปรับพื้นผิวและปรับระดับให้เหมาะสมเสียก่อน การปูให้เว้นรองยาแนวให้เหมาะสมกับประเภทกระเบื้องที่ใช้ สำหรับกระเบื้องทั่วไปควรเว้นยาแนวอย่างน้อย 3 มิลลิเมตร สำหรับกระเบื้องชนิดตัดขอบ ให้เว้นอย่างน้อย 2 มิลลิเมตร นอกจากนี้ควรใช้อุปกรณ์เว้นร่องยาแนว เพื่อช่วยคุมความกว้างของร่องยาแนวให้สม่ำเสมอเท่ากันในทุกๆ ด้าน


อ่านบทความเกี่ยวกับกระเบื้องและไม้ปูพื้นเพิ่มเติมได้ที่ ไม้ปูพื้น ทนทานรองรับหน้าฝนกันพื้นลื่น
อ่านเทคนิคการปูกระเบื้องเพิ่มเติมได้ที่ เทคนิคเลือกกระเบื้องปูพื้นนอกบ้าน พร้อมวิธีปูกระเบื้องให้บ้านสวยและปลอดภัย
เป็นอย่างไรบ้างพอได้ไอเดียในการคุยกับช่างปูกระเบื้องบ้างแล้ว ครั้งต่อไปหรือครั้งไหนที่คิดจะเปลี่ยนกระเบื้องใหม่รับรองไม่มีปัญหาปวดใจเหล่านี้เกิดขึ้นแน่นอ

Cr.. HGR

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้